
กัญชาในการรักษาโรคในทางการแพทย์
1.กัญชารักษาโรคภาวะคลื่นไส้/อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
ผู้ที่มีโรคภาวะคลื่นไส้ หรืออาเจียนจากยาเคมีบำบัด
แพทย์จะให้รับประทานยา Nabilone แต่ผู้ป่วยต้องมีอายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไป
เพราะมีผลข้างเคียงมีผลต่อระบบประสาท เนื่องจากสเป็นสารสกัดจากกัญชา
2.กัญชารักษาโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
กัญชาสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อสำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อม
บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันให้กับผู้ป่วยโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
3.กัญชารักษาโรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
จากงานวิจัยพบว่าสาร CBD (Cannabidiol) ที่มีอยู่ในกัญชามีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักให้ดีขึ้นได้
โดยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาใช้สารนี้แล้วบรรเทาอาการลดลงได้มากถึง 44%
4.กัญชารักษาโรคอัลไซเมอร์
มหาวิทยาลัยฟลอริดาได้ทดลองนำกัญชารักษาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากพบว่าสารเดลตา 9 มีความสามารถในการยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ
อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการทำงานของไมโทคอนเดรียได้อีกด้วย
5.กัญชารักษาโรคพาร์กินสัน
ในกัญชามีสารไฟโตแคนนาบินอยด์
หากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันใช้น้ำมันกัญชาวันละ 2-5 หยด
จะช่วยลดสารโดพามีนที่มีผลต่อการอักเสบในสมอง ทำให้ระบบหลั่งสารสื่อประสาทให้ดีขึ้น
6.กัญชารักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
จากการศึกษาค้นพบว่ากัญชาสามารถบรรเทาอาการคัน,บวม
และลดการอักเสบของผู้ป่วยได้ถึง 86.4%
ทั้งในโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำและโรคผิวหนังอักเสบ
7.กัญชารักษาโรคภาวะนอนไม่หลับ
ในกัญชามีสาร Cannabinoids ซึ่งนำมารักษาผู้ป่วยที่มีโรคภาวะนอนไม่หลับ
เพราะมีฤทธิ์ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ผ่อนคลาย
นอกจากนี้สารตัวนี้ยังไม่ส่งผลข้างเคียงหลังจากตื่นนอนอีกด้วย
8.กัญชารักษาโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
วิจัยจากมหาวิทยาลัย Southern California ค้นพบว่า
กัญชาสามารถช่วยรักษาโรควิตกกังวลได้ โดยได้ทำการสำรวจจากผู้เข้าร่วมทดลอง 4,400 คน
พบว่าผู้ที่ใช้กัญชามีอาการซึมเศร้าน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา
บทความอื่นๆ

สรรพคุณของกัญชา
ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดกินเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร
อ่านต่อ
วิธีแก้อาการ "เมากัญชา" เบื้องต้น
ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก ๆ เพื่อบรรเทาอาการคอแห้งปากแห้ง และการอาบน้ำเป็นตัวเลือกที่ดี
อ่านต่อ
กัญชามีกี่สายพันธุ์
ซาติวา (Cannabis Sativa) ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือคาโรรัส ลินเนียส (Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus)
อ่านต่อ