
วิธีปลูกกัญชา ปลูกแล้วต้องจดแจ้งอย่างไร
กัญชาเป็นพืชต้องการแสงมากถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน
สำหรับสายพันธุ์ซาติวาที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทยควรเริ่มปลูกในช่วงเดือนมิ.ย. – ก.ย. ซึ่งเป็นฤดูฝนที่มีแสงแดดยาวนานถึง
14 ชั่วโมงก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวที่แสงสั้นลงจะทำให้กัญชาออกดอกได้ดีขึ้น
ทั้งนี้ระยะเวลาการเติบโตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆ โดยแบ่งระยะในการเติบโตเป็น 4 ช่วงหลักๆ
ด้วยกัน
1 การเพาะเมล็ด (Germination) เมล็ดที่ดีต้องอวบแน่นสมบูรณ์ ผิวแข็งเรียบเนียน
สีค่อนข้างไปทางน้ำตาลแก่ ขั้วแห้งสุก ไม่มีรอยปริแตก นำไปแช่น้ำ 2 ชั่วโมง
แล้วเก็บในที่มืดและอุ่น ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง จากนั้นวางเมล็ดข้างๆ
กระดาษชำระชุ่มน้ำในกล่อง แล้วปิดด้วยกระดาษชำระชุ่มน้ำอีกชั้น
2 การอนุบาล (Seedling) หลังจากรากเริ่มงอกให้นำปลูกลงกระถาง
การผสมวัสดุปลูกจะต้องร่วยซุย ชื้นแต่ไม่แฉะ
แต่ต้องมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ไม่ต่างจากการปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป
และสิ่งสำคัญคือต้องปลอดสารปนเปื้อน สามารถใช้ได้ทั้งพีทมอสส์ ผสมกับเพอร์ไรต์
หรือวัสดุปลูกอื่นๆ อย่าง เวอร์มิคูไล หินพัมมิช ขุยมะพร้าว เป็นต้น
3 ระยะเลี้ยงใบ (Vegetative) เป็นช่วงที่ต้องการปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลักเพื่อสร้างรากและใบ
ช่วงนี้สามารถเพิ่มปุ๋ยมูลไส้เดือน ฮอร์โมนไข่ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารได้ ต้องการแสง 16-20 ชั่วโมง
กัญชาเป็นพืชที่มีรากขยายยาวการเลือกขนาดกระถางจึงมีความสำคัญมาก
ควรเลือกกระถางทรงสูงและมีขนาดใหญ่เพื่อให้รากได้แผ่ขยายได้ทั่ว
4 ระยะทำดอก (Flowering) เป็นช่วงที่ดอกเริ่มแสดงเพศ
ซึ่งจะมีช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย ส่วนใหญ่แล้วจะตัดดอกเพศผู้ทิ้ง
ให้เหลือเพียงดอกเพศเมียเพื่อเก็บเกี่ยวเท่านั้น
ระยะนี้ให้เพิ่มปุ๋ยที่โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง เช่นปุ๋ยมูลค้างคาว
เพื่อช่วยเร่งดอก ช่วงทำดอกอุณหภูมิต้องเย็น ลดความชื้น ระวังปัญหาเชื้อรา
หลังจากอายุดอกสมบูรณ์เข้าสู่ช่วงระยะเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวจะต้องสังเกตไตรโคม (Trichomes) ตรงช่อดอก ลักษณะคล้ายเรซิ่นใส
เมื่อต้นกัญชาเติบโตสมบูรณ์เต็มที่
ไตรโคมจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นส่งสัญญาณว่าพร้อมเก็บเกี่ยว สีไตรโคมแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ สีใส
สีมิลกี้ (สีขาวขุ่น) และสีเหลืองอำพัน การเก็บเกี่ยวช่อดอกในระยะดอกมีสีมิลกี้ ประมาณ 70% ระยะสีเหลืองอำพัน
ประมาณ 30% จะให้สารสำคัญอย่าง THC CBD สูงมาก
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการอบแห้งในลำดับต่อไป
ปลูกแล้วต้องจดแจ้งอย่างไร
ในวันที่ 9 มิถุนายน ครบกำหนดให้บังคับใช้
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดกัญชาพ้นจากความเป็นยาเสพติด (ยส.5)
ทำให้การใช้กัญชาในลักษณะต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมายอีกต่อไป
รวมถึงการปลูกที่ประชาชนสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
เพียงแต่ต้องจดแจ้งช้อมูลในการปลูก โดยมีช่องทางการลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา สามารถทำได้
3 ช่องทางดังนี้
1.เว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th
ขั้นตอน
●
เข้าสู่เว็บไซต์ Plookganja
●
คลิกที่หัวข้อ "จดแจ้งการปลูกกัญชา กัญชง"
●
การเข้าใช้งานครั้งแรก
ให้คลิกที่ "ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้? ลงทะเบียน"
●
อ่านทำความเข้าใจนโยบายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
จากนั้นกด “ยินยอมข้อมูล” และ คลิก “ตกลง”
2.ในโทรศัพท์มือถือผ่านแอปพลิเคชัน ‘ปลูกกัญ’ ที่โหลดผ่านได้ทั้งระบบ Android
และ iOS
ขั้นตอน
●
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ผ่าน Google Play หรือ App Store
●
กดเลือก “ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ”
●
อ่านทำความเข้าใจนโยบายปกป้องข้อมูลส่วนบบุคคล จากนั้นกด “ยินยอม” และกด “ยืนยัน”
●
กรอกรายละเอียด เลขบัตรประชาชน และ เบอร์โทรศัพท์ จากนั้นกด “ถัดไป”
●
รอระบบส่งรหัส OTP ไปยังโทรศัพท์ จากนั้นให้นำรหัส OTP 6 หลัก กรอกในกล่องข้อความ และกด “ถัดไป”
●
ระบบจะแสดงเลขบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ที่กรอกไว้แล้ว
จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วกดที่ “สมัครเข้าใช้บริการจดแจ้งปลูก”
●
เลือกวัตถุประสงค์ในการยื่นจดแจ้ง ได้แก่ 1.) เพื่อใช้ดูแลสุขภาพ 2.) เพื่อใช้ดูแลผู้ป่วยทางการแพทย์แผนไทย
และแพทย์พื้นบ้าน และ 3.) เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
● กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งสิ่งที่ปลูก
จำนวนต้นและแหล่งที่มา จากนั้นกด “ถัดไป”
3.ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้
ทั้งนี้ สำหรับใครที่ไม่สะดวกลงทะเบียนด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน
หรือเว็บไซต์ สามารถให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งปลูกกัญชา และกัญชงได้เช่นกัน โดย
เจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือ กทม. จะดำเนินการรับจดแจ้งแล้วนำไปลงทะเบียนให้ผ่านเว็บไซต์
จากนั้นจะพิมพ์ใบรับจดแจ้งให้ประชาชนเก็บเอาไว้
โดยเริ่มลงทะเบียนจดแจ้งได้แล้วตั้งแต่วันนี้
หรือมีคำถามสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกัญชา-กัญชง โทร. 1556 กด 3
บทความอื่นๆ

สรรพคุณของกัญชา
ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดกินเป็นยาชูกำลัง ช่วยเจริญอาหาร
อ่านต่อ
วิธีปลูกกัญชา ปลูกแล้วต้องจดแจ้งอย่างไร
กัญชาเป็นพืชต้องการแสงมากถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับสายพันธุ์ซาติวาที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทย
อ่านต่อ
‘ธุรกิจกัญชา’ ความหวังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้เติบโต
จากความฝันของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ
อ่านต่อ